Pages

วันเสาร์, สิงหาคม 18

ใช้ซอฟต์แวร์อย่างคุ้มค่าและปลอดภัยในการท่องอินเตอร์เน็ต



สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล แล้วการใช้งานจำเป็นต้องเหมาะสม และมีความถนัดในการทำกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะท่องโลกอินเตอร์เน็ต การจัดพิมพ์เอกสาร การดูหนังฟังเพลง หรือตลอดจนการเล่นเกมส์
ผมได้ทดลองกับตัวเอง โดยการหาคุณสมบัติคอมพิวเตอร์โน็ตบุ๊ต ที่มีคุณสมบัติขั้นต่ำดังนี้
1. CPU ความเร็วไม่น้อยกว่า 1.6 Ghz
2. RAM ความเร็วไม่ต่ำกว่า 1 Ghz
3. Harddisk ความจุไม่ต่ำกว่า 80 GB

ที่ต้องเลือกคุณสมบัติเครื่องที่สูงเนื่องจากต้องการสร้างระบบปฏิบัติการหลัก (Core Operating System)เป็น Linux และต้องสร้างระบบปฏิบัติการเสริมเป็น Windows เพื่อสำหรับใช้ในซอฟต์แวร์บางตัวที่ระบบปฏิบัติการ Linux ยังมีความสามารถไม่ถึง ได้แก่ซอฟต์แวร์ในการแผนผังระบบเครือข่าย โดยปกติเราใช้ Microsoft Visio หรือโปรแกรมเกี่ยวกับการตกแต่งรูป ที่ Windows สามารถเลือกใช้ได้หลายตัวไม่ว่าเป็น Photoshop หรือ illustrator ใน Linux มีการใช้ซอฟต์แวร์ตัวนี้ได้เกือบจะดีคือ Gimp แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับนักออกแบบที่เคยติดกับการใช้งานบนระบบปฏิบัติการ Windows ได้ เป็นต้น

Step by Step การทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราปลอดภัย
1. แบ่งการเก็บเนื้อที่ฮาร์ดดิส อย่างน้อย 2 Patition คือมีให้เก็บเฉพาะข้อมูล 1 Patition และมีให้ใช้สำหรับระบบปฏิบัติการอีก 1 patition ไม่ควรเก็บข้อมูลใน Patition เดียวเพราะหากระบบปฏิบัติการมีปัญหาข้อมูลอาจมีความเสียหายได้ ปัญหาหลักๆ ของระบบปฏิบัติการมีปัญหานั้นได้แก่ การติดไวรัส นั้นเอง
โดยสมมุติ หากเรามีเนื้อที่ฮาร์ดิสอยู่ 80 GB ผมทำการแบ่งให้กับการเก็บข้อมูล 40 Gb และ ระบบปฏิบัติการอีก 40 Gb

2. สำหรับระบบปฏิบัติการหลัก ผมเลือกลง Linux ที่ใช้ Distro Debian นั้นคือ Ubuntu Linux นั้นเอง สำหรับใครชอบ X Windows แบบใด ไม่ว่าเป็น Gnome หรือ KDE หรืออื่นๆ ก็สามารถเลือกใช้ได้ตามต้องการ สำหรับผมเลือก Gnome เนื่องจากความถนัดส่วนตัวครับ
ที่เลือก Debian Ubuntu เนื่องจากมีระบบ Update Software และ Update Security Patch แบบอัตโนมัติ ผ่านโปรแกรมที่ชื่อว่า Update Manager และการกำหนดโปรแกรมที่ลงผ่าน Synaptic Package Manager ทำให้เรามีซอฟต์แวร์ที่ทันสมัยอยู่เสมอ (ปลอดภัยและทันสมัย) อีกทั้งไม่ต้องเสียค่า License ในการ Update อีกด้วยครับ

จากเดิมที่แบ่งระบบปฏิบัติการไป 40 Gb ก็อย่างลืม ลงเพื่อใช้ Swap space ไปสัก 10% การใช้งานเนื้อที่ฮาร์ดิสและการประมวลผลด้วยนะครับ เพื่อว่าหาก RAM เครื่องหมดจะมาใช้ต่อที่ตัวนี้กัน
ส่วนการตั้ง Path ตามสำควรและความถนัดครับ

3. เมื่อทำการลงระบบปฏิบัติการหลักเสร็จแล้ว เราก็จะทำการลงซอฟต์แวร์ ที่มีความจำเป็นสำหรับการใช้งาน
ผมแยกกันลืมสำหรับตัวเองด้วย ดังนี้ครับ
3.1 Accessories เพิ่มโปรแกรมที่ชื่อ Wine เป็นโปรแกรมที่สามารถรันไฟล์ที่ใช้กับระบบปฏิบัติการ Windows ได้ ที่ผมเลือก wine เพราะผมจำเป็นต้องใช้ SSH Client อยู่เพื่อทำการ Remote และ FTP ผ่าน SSH Protocol รัน Wine เพื่อใช้ SSH ไม่ได้รัน Wine เพื่อเล่นเกมส์ที่เหมาะกับ Windows นะหากคิดอย่างนั้นต้องมี RAM เยอะหน่อยครับ โชคดีหน่อยผมไม่ติดเกมส์ และ Chat ส่วน Linux หากชอบ Chat เราจะเลือกใช้ Gaim ได้ครับตัวนี้รองรับ chat ได้หลายตัวทีเดียว
3.2 Graphics ผมเพิ่มโปรแกรม
- Dia Diagram editor ไว้สำหรับทำงานการเขียนแผนผังระบบเครือข่าย ตัวนี้ยังสู้ Windows ไม่ได้ แต่ก็พอใช้งานได้ครับ
- Ksnapshot เพื่อใช้ในการ Capture ภาพ และตัดต่อภาพ เพื่อ ทำรายงาน/ทำเว็บ
- OpenOffice Drawing ไว้วาดแผนผังต่างๆ
3.3 Internet ในตัว ubuntu มีบราวเซอร์มาให้คือ Firefox เพียงอันเดียวก็เกินพอแล้วครับ เพราะ Firefox มี add on มากมายให้เลือกใช้ แต่สำหรับผมแล้วเพิ่มอีกโปรแกรมคือ Opera เนื่องจากบางเว็บไซด์ในไทยยังเขียนเพื่อให้อ่านบราวเซอร์ที่ Windows ใช้คือ IE อยู่จึงไม่สะดวกนักหากใช้เพียง Firefox อาจจะอ่านเว็บเหล่านั้นได้ยาก Opera จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับอ่านเว็บภาษาไทยที่ยังขาดการตัดคำและจัดหน้าเพจไม่ได้รองรับกับ Firefox
- Mail Client ผมเลือก Thuderbird Mail ครับ ตัวนี้สะดวกดีและทำงานได้ดีไม่แพ้ outlook ครับ
- Wireshark งานของผมมักเกี่ยวข้องกับระบบเครือข่าย ดังนั้นโปรแกรมที่ไว้วิเคราะห์ระบบเครือข่ายที่ดี คือ Ethereal ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า Wireshark ครับ ตัวนี้เหมาะกับระบบ Linux ใช้งานได้ดีมากครับ
3.4 Office ไม่ต้องสงสัยเราจำเป็นต้องใช้ Open office ถึงแม้จะสู้กับทาง Microsoft office ไม่ได้ก็ตาม ก็พอใช้ได้ครับ ณ ปัจจุบันทำงานได้ดีกว่าเก่าเยอะครับ ก็ยังมีปัญหาเรื่อง Font อยู่บ้างแต่เล็กน้อยเมื่อเทียบกับเมื่อก่อน ถือว่าพอใช้งานได้ครับ
3.5 Sound & video เพื่อให้อ่านเว็บและโปรแกรมที่ต้องดูหนังได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผมลงพวก Codex , Codine เพิ่มเติมครับ และใช้โปรแกรม Mplayer เกือบทั้งหมด ทั้งดูหนังและฟังเพลง ส่วนการไลท์แผ่นโปรแกรมแล้วเพิ่มเติมจากของเดิมที่ลงให้ โดยการลงโปรแกรมชื่อ K3B ช่วยได้เยอะครับ เหมือน Nero burnบน Windows ใช้งานง่าย ไม่ติดปัญหาครับ
3.6 System ส่วนลงเพิ่มเติมจากของเดิมดังนี้
- Windows Manager เลือกใช้ Beryl ช่วยให้ Desktop เราดูหรูขึ้นครับ เป็น 3D
- file system เลือกใช้ Ntfs3-3g เพื่อไว้เม้าหาฮาร์ดดิสที่เป็นระบบ NTFS ครับ นี้เป็นปัญหาหนึ่งที่ linux มีความยุ่งยากกว่าระบบ Windows อยู่
- Virtual machine ส่วนนี้ผมใช้ Open source ชื่อว่า Virtulbox หรือ Vmware player ก็ได้ครับ ทั้งคู่เป็น Open Source

4. ทำการลง Virual Machine เพื่อสร้างระบบปฏิบัติเสริมหลังลงระบบปฏิบัติการหลัก ในที่นี้เราใช้ Virtulbox เพื่อลงระบบปฏิบัติการ Windows XP ที่ต้องใช้ Windows บน Virual Machine เหตุผลคือ
ซอฟต์แวร์บางตัวบนระบบปฏิบัติการ Linux ยังใช้งานได้ไม่สมบูณ์ ว่าเป็นระบบตัดคำ ระบบสร้างกราฟิก รวมถึงการโปรแกรมวาดแผนผังระบบเครือข่าย เป็นต้น สำหรับผมแล้ว พบว่าการส่งข้อมูลเสียงผ่านอินเตอร์เน็ทระบบปฏิบัติการ Windows ทำได้ดีกว่า linux อยู่บ้างในบางเว็บไซด์ และดันเป็นเว็บไซด์ที่ผมต้องเข้าไปฟังเนื้อหาเป็นประจำ จึงต้องเลือกลง Virual Machine เป็น Windows
เมื่อทำการลงเสร็จ เราสามารถตัดหน้าจอโดยใช้เม้าเปลี่ยนเลือกเป็น Windows และ Linux ได้พร้อมกันโดยใช้ ความสามารถของ Beryl
นี้แหละครับเท่านี้เราก็หลีกเลี่ยงการติดไวรัสคอมพิวเตอร์ และพวก สปายแวร์ที่ติดตามโปรแกรมและพฤติกรรมการท่องอินเตอร์เน็ตเราได้มากพอสมควรเนื่องจาก ระบบปฏิบัติการหลักเราคือ Linux และ Windows อยู่ใน Virual Machine แล้วการติดไวรัสที่ทำร้ายต่อระบบปฏิบัติการ Windows ก็จะไม่แพร่กระจายไปสู่ระบบปฏิบัติการหลักที่เป็น Linux ยกเว้นบางกรณี ซึ่งถ้าเทียบตามความน่าจะเป็นแล้วน้อยมากที่เครื่องติดเป็น Zombie จากระบบปฏิบัติการ Linux ได้ยกเว้นจะโดน Hack เข้าสู่ระบบปฏิบัติการภายใน การติดจากการท่องอินเตอร์เน็ตนั้นน้อยกว่า Windows อยู่มาก และไม่ต้องกังวลต้องลงซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส เพื่อทำให้เครื่องโหลดจากฐานข้อมูลไวรัสที่มีการ Update ตลอด ไม่ต้องกังวลเครื่องจะเป็น Backdoor อีกต่อไปเพราะระบบปฏิบัติการเราเป็น Open Source หากเล่นกันชำนาญเราปรับแต่งได้เองอีกมากมาย
หากต้องการกันไวรัสที่อาจเกิดขึ้นบนระบบปฏิบัติการ linux ก็มี Open source Anti virus ที่เป็นที่นิยมสูงคือ Clamav และหากต้องการใช้เป็นแบบ GUI บน linux ก้มีให้เลือกใช้เป็น klamav อีกด้วยครับ

ประโยชน์ที่ได้รับต่อไปคือการสร้างเสริมนิสัยให้ใช้ Open source และสร้างความคุ้นเคยกับระบบปฏิบัติการ Linux มากขึ้น จะได้ลดค่าใช้จ่ายในการใช้ซอฟต์แวร์ ที่มีลิขสิทธิอีกด้วยครับ
จงจำไว้ว่า ความปลอดภัยข้อมูล เริ่มจากตัวเองก่อน เริ่มจากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา ต่อจากนั้นคือพฤติกรรมการใช้งานของเรา การใช้ข้อมูลผ่านเครือข่ายของเรา ออกสู่โลกภายนอก หากระบบปฏิบัติการบนเครื่องของเราแข็งแรงพอ และใช้ซอฟต์แวร์อย่างเหมาะสม และพอเพียง จะทำให้เรามีภูมิต้านทานได้ หากทุกคนมีความรู้ และมีความตระหนักในการใช้ข้อมูลสารสนเทศ เราจะสูญเสียเงินในการจัดซื้อจัดจ้้างระบบรักษาความปลอดภัยน้อยลง และปัญหาจุกจิกที่พบในชีวิตประจำวันเราก็จะน้อยลงไปด้วยเช่นกัน

นนทวรรธนะ สาระมาน
Nontawattana Saraman
18/08/50

บทความที่เกี่ยวข้อง http://nontawattalk.blogspot.com/2007/06/windows.html

ไม่มีความคิดเห็น: